งานประกันคุณภาพ


การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR)

ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

  (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม


รูปแบบการเขียนรายงานประเมินตนเอง  ประกอบด้วย  4 ส่วนคือ  

1)  ส่วนนำ  2)  รายงานการประเมินตนเอง  3)  สรุปผลการประเมินตนเอง  และ 4) ภาคผนวก

รูปแบบและรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังนี้

- ปกนอก

- ปกใน

- บทสรุปผู้บริหาร

- คำนำ

- สารบัญ

- สารบัญแผนภาพ (ถ้ามี)

- สารบัญตาราง (ถ้ามี)

 

ส่วนที่  1  ส่วนนำ 

- ชื่อหน่วยงานที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

- ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์

- โครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการบริหารงาน

- รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร 

- หลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน

- จำนวนนักศึกษา

- จำนวนอาจารย์และบุคลากร

- ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณ และอาคารสถานที่

- เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรมของหน่วยงาน

- ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการประเมินปีที่ผ่านมา

ส่วนที่  2  รายงานการประเมินตนเอง

- ทุกองค์ประกอบ

- ทุกตัวบ่งชี้

- สรุปผลการประเมินรายองค์ประกอบ

- จุดแข็ง/แนวทางเสริมจุดแข็ง

- จุดที่ควรพัฒนา/ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

ส่วนที่ 3   สรุปผลการประเมินตนเอง                

- ผลการประเมินรายตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพ  

- ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ  

ภาคผนวก

ภาคผนวก  ก  ข้อมูลพื้นฐาน  (Common Data Set) 

ภาคผนวก  ข  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

 

หลักเกณฑ์และรูปแบบการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

1.  การพิมพ์

     1.1  กระดาษที่ใช้พิมพ์และอัดสำเนาหรือถ่ายเอกสารให้ใช้กระดาษสีขาวเหมือนกันทุกแผ่น ขนาด A4

     1.2 พิมพ์หน้า – หลังตลอดทั้งเล่ม ระยะขอบกระดาษด้านบนและขอบซ้ายห่างจากขอบกระดาษ 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) ด้านล่างและด้านขวาห่างจากขอบกระดาษ 2.54 เซนติเมตร (1 นิ้ว)

     1.3  หัวเรื่องและหัวข้อสำคัญ ให้ใช้ตัวอักษรแบบ Th Sarabun ขนาด 20 พอยท์ (Points) ตัวหนา

     1.4  เนื้อหาหรือข้อความให้ใช้ตัวอักษรแบบ Th Sarabun ขนาด 16 พอยท์ (Points) และต้องเป็นตัวอักษรขนาดเดียวกันตลอดทั้งเล่ม และให้มีระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่ากรณีลงตารางสามารถปรับลดขนาดตัวอักษรได้ 

สำหรับตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของคำหรือข้อความ จะพิมพ์ด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวเล็กก็ได้ แต่ต้องเป็นแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม

     1.5  ตัวเลขใช้แบบเดียวกันทั้งฉบับ เช่น ใช้เลขอารบิก หากจำเป็นต้องใช้เลขไทยก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับภาษาด้วย เช่น ใช้เลขไทยกับส่วนที่เป็นภาษาไทย แต่ต้องไม่ใช่เลขไทยกับส่วนที่เป็นข้อความภาษาอังกฤษ

 

2.  การลำดับหน้า

     2.1  ส่วนนำ บอกหน้าด้วยตัวอักษร ก ข ค ตามลำดับ โดยพิมพ์ตัวอักษรชิดริมขวาหน้ากระดาษ ห่างจากขอบบน 2.54 เซนติเมตร (1 นิ้ว)

     2.2  ส่วนเนื้อความทั้งหมด ตั้งแต่บทที่ 1เป็นต้นไปให้บอกเลขหน้าตามลำดับโดยพิมพ์เลขหน้าชิดริมขวาให้ห่างจากริมกระดาษ 2.54 เซนติเมตร (1 นิ้ว) ยกเว้นเมื่อขึ้นต้นบทใหม่ไม่ต้องพิมพ์เลขหน้า

     2.3  ในกรณีที่ต้องพิมพ์ตามความยาวของหน้ากระดาษ ให้พิมพ์หมายเลขลำดับไว้ในตำแหน่งเดียวกับหน้าอื่นๆ 

 

3. การย่อหน้า

     ให้เว้นจากขอบซ้าย 2.54 เซนติเมตร (1 นิ้ว) และหากมีย่อหน้าที่ย่อลงไปอีกให้เว้นระยะออกไปอีก 1.27 เซนติเมตร (0.5 นิ้ว) 

 

4.  การพิมพ์ส่วนประกอบแต่ละส่วน

     ส่วนประกอบต่างๆ ในการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้

     4.1  ปกหน้า

     4.2  ปกใน

     4.3  สารบัญ

     4.4  สารบัญตาราง สารบัญภาพ

     4.5  ส่วนเนื้อความ

     4.6  ภาคผนวก

 

หลักเกณฑ์การพิมพ์แต่ละส่วนประกอบของรายงานการประเมินตนเองมีดังนี้

1)  หน้าปก มีส่วนประกอบดังนี้

     1.1  ปกหน้า (รูปแบบปกกำหนดเอง) แต่ให้มีรายละเอียดของข้อความครบถ้วน ดังนี้  โลโก้สีของหน่วยงาน และให้พิมพ์ตัวอักษรข้อความ “รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) ประจำปีการศึกษา.........(ปีการศึกษาที่รายงาน)....... ชื่อคณะ/หน่วยงาน.........(ชื่อหน่วยงาน).........มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

     1.2  ตัวอักษร ใช้แบบ Th Sarabun

     1.3  พิมพ์หัวข้อเรื่องกลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบด้านบน 5 เซนติเมตร (2 นิ้ว) ห่างจากขอบด้านซ้าย 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) ตัวสุดท้ายห่างจากขอบด้านขวา 2.54 เซนติเมตร (1 นิ้ว) 

     1.4  สันปก พิมพ์หัวข้อ “รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา ..........(ปีการศึกษาที่จัดทำ).......... คณะ / หน่วยงาน........(ชื่อหน่วยงาน)…….

     1.5  ปกหลัง ไม่ต้องพิมพ์ข้อความใดๆ

 

2)  ปกใน พิมพ์เหมือนกับปกหน้า

 

3)  หน้าสารบัญ

     3.1  พิมพ์คำว่า “สารบัญ” ด้วยตัวหนา ขนาด 20 พอยท์ อยู่กึ่งกลางหน้าห่างจากริมกระดาษด้านบน 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว)

     3.2  หัวข้อและเลขหน้า ที่ปรากฏในสารบัญต้องตรงกับหัวข้อและเลขหน้าที่ปรากฏในตัวเล่มรายงานการประเมินตนเอง เลขหน้าที่นำมาไว้ในสารบัญเป็นเลขหน้าแรกของบทหรือตอนนั้นๆ

     3.3  ตำแหน่งของตัวเลขหน้าจะอยู่ตำแหน่งเดียวกับ “สระอา” ของคำว่า “หน้า” โดยให้ห่าง 2 บรรทัดพิมพ์จาก “สารบัญ”

     3.4  พิมพ์หัวข้อใหญ่แต่ละเรื่องและบทที่ ด้วยตัวหนา ห่างขอบซ้าย 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว)

     3.5  พิมพ์เลขที่บทเฉพาะตัวเลข 1, 2, 3 ตามลำดับ ย่อหน้าเข้าไปจากตัวอักษรตัวแรก 2 ช่วงตัวอักษร และเว้นอีก 2 ช่วงตัวอักษร จึงพิมพ์หัวข้อเรื่อง

     3.6  หากสารบัญมีความยาวเกิน 1 หน้า ให้พิมพ์หน้าต่อไป ต้องมีคำว่า “สารบัญ(ต่อ)” และ “หน้า” ในตำแหน่งเดียวกันกับหน้าแรก

     3.10  ถ้ามี “ภาคผนวก” ให้พิมพ์เช่นเดียวกับ “บรรณานุกรม” ถ้าภาคผนวกแบ่งเป็นหลายเรื่อง ให้แยกเรื่องเรียงตามลำดับโดยใช้อักษร ก ข ค ตามลำดับ

 

4)  สารบัญตาราง สารบัญภาพ

     หลักเกณฑ์ต่างๆ ในการพิมพ์สารบัญตาราง สารบัญภาพให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับสารบัญ โดยใช้คำว่า “สารบัญตาราง” “สารบัญภาพ” แทน “สารบัญ” และคำว่า “ตารางที่” “ภาพที่” แทน “บทที่” ตามแต่กรณี

 

5)  ส่วนเนื้อความ

     เนื้อความหรือเนื้อเรื่องมีหลักในการพิมพ์ ดังนี้

     5.1  หน้าแรกของแต่ละบทเริ่มต้นด้วยข้อความ “บทที่” และตามด้วยเลขกำกับบท ขนาด 18 พอยท์ ตัวหนา โดยวางไว้กึ่งกลางหน้า ห่างจากริมกระดาษบน 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว)

     5.2  ชื่อบทพิมพ์ไว้กึ่งกลางหน้า โดยเว้นระยะห่างจากข้อความ “บทที่” 1 ช่วงบรรทัดพิมพ์

     5.3  ข้อความของชื่อบทถือเป็นหัวข้อใหญ่ที่สุดของบทนั้นๆ ให้อยู่กลางหน้ากระดาษ รองลงไปเป็นหัวข้อรองซึ่งจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว)

     5.4  หัวข้อรองจากใต้ชื่อบท ขนาดตัวอักษร 18 พอยท์ พิมพ์ห่างจากขอบซ้าย 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว)

     5.5  ข้อความขยายหัวข้อรองให้ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยเว้นระยะ 1 บรรทัดพิมพ์จากหัวข้อรอง และเว้นระยะ 8 ช่วงตัวอักษรจากข้อความที่อยู่ห่างจากขอบซ้าย 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว)

     5.6  ข้อความขยายหัวข้อย่อยให้พิมพ์ต่อไปในบรรทัดเดียวกัน โดยเว้นวรรค 2 ช่วงตัวอักษรหรือขึ้นบรรทัดใหม่ตามความเหมาะสมทั้งนี้ให้ใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่มระดับต่างๆ

     5.7  การเว้นระยะในหัวข้อระดับต่างๆ ให้ใช้ดังนี้

5.7.1  ย่อหน้าลำดับแรกให้เว้นระยะ 8 ช่วงตัวอักษรจากขอบซ้ายหรือ   1 Tab (default)  หรือ 0.5 นิ้ว

5.7.2  ย่อหน้าที่ 2 ให้เว้นระยะ 11 ช่วงตัวอักษรจากขอบซ้าย หรือ 0.75 นิ้ว

5.7.3  ย่อหน้าที่ 3 ให้เว้นระยะ 14 ช่วงตัวอักษรจากขอบซ้าย หรือ 1.0 นิ้ว

5.7.4  ย่อหน้าที่ 4,5,6 ให้เว้นระยะ 1.25, 1.50, 1.75,… นิ้วจากขอบซ้าย ตามลำดับ

     5.8  สูตรต่างๆ เช่น สูตรสถิติให้พิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษ โดยห่างจากข้อความในบรรทัดบนและล่างเป็นระยะ 2 ช่วงบรรทัดพิมพ์

     5.9  ในการเขียนเนื้อเรื่อง ที่เป็นส่วนคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น อัญประภาษ ตารางภาพประกอบ อ้างอิง มีหลักในการเขียนดังนี้

5.9.1  อัญประภาษ เป็นข้อความที่คัดมาตรงตามต้นฉบับเดิมทุกประการ ให้ใส่เครื่องหมายอัญประกาศ “………” ถ้าความยาวไม่เกิน 4 บรรทัด แต่ถ้าข้อความที่คัดลอกมายาวเกิน 4 บรรทัด ให้ใช้วิธีย่อหน้าเข้าไปเท่าๆ กันทุกบรรทัด

5.9.2  ตาราง มีรูปแบบของการพิมพ์ตาราง ดังนี้

5.9.2.1  ตารางจะอยู่ห่างจากข้อความข้างบนและข้างล่าง 1 ช่วงบรรทัด

5.9.2.2  ชื่อตารางและหมายเหตุใต้ตาราง ถือเป็นส่วนหนึ่งของตาราง

5.9.2.3  ก่อนถึงตัวตารางต้องมีชื่อตาราง ข้อความของชื่อตารางเริ่มด้วย คำว่า “ตารางที่” เว้นวรรค 1 ช่วงตัวอักษร ตามด้วยหมายเลขลำดับตาราง เช่น ตารางที่ 4.1 หมายถึงตารางอยู่ในบทที่ 4 ตารางลำดับที่ 1 เว้น 1 ช่วงอักษร แล้วจึงเป็นชื่อตาราง

5.9.2.4  ข้อความของชื่อตารางให้ห่างจากขอบซ้ายมือ 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) ถ้าชื่อตารางยาวกว่า 1 บรรทัดขึ้นไป บรรทัดถัดไปให้พิมพ์ตรงกับอักษรตัวแรกของชื่อตาราง และให้พิมพ์ชื่อตารางที่เป็นตัวหนาขนาดตัวอักษร 18 pt

5.9.2.5  เส้นกรอบของตารางทั้งเส้นแนวตั้งและเส้นแนวนอนทั้งภายในและภายนอกตารางเป็นเส้นธรรมดา

5.9.2.6  ชื่อรายการในแต่ละช่วงตารางให้อยู่กึ่งกลางระหว่างช่อง ถ้าชื่อรายการในแต่ละช่องมีความยาวเกิน 1 บรรทัด ให้ขึ้นบรรทัดใหม่และย่อหน้าเข้ามา 2 ตัวอักษร หรือจัดให้อยู่กึ่งกลางของช่อง

5.9.2.7  ตัวเลขในตารางที่เป็นแนวตั้งควรพิมพ์ให้ได้ระดับเสมอกันโดยตลอด โดยถือเลขหลักขวาสุดเป็นแนว หากเป็นตัวเลขที่มีจุดทศนิยมให้ยึดจุดเป็นแนวตรงกัน ถ้ามีเครื่องหมายอื่นใดอยู่ระหว่างเลข 2 จำนวน ต้องจัดให้เครื่องหมายตรงกัน

5.9.2.8  ตารางที่มีขนาดไม่พอดีกับกระดาษ อาจจัดตามความยาวของหน้ากระดาษ

5.9.2.9  ชื่อรายการแต่ละช่องที่เป็นภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์อักษรตัวแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่

5.9.2.10  ชื่อตารางและชื่อรายการในแต่ละช่องไม่ควรใช้คำย่อ

5.9.2.11  ตารางที่ไม่จบในหน้าเดียวไม่ต้องขีดเส้นปิดตารางโดยในหน้าต่อไปให้พิมพ์ คำว่า “ตารางที่” และหมายเลขกำกับตารางพร้อมกับมีคำว่า “ต่อ” ไว้ในวงเล็บ คำว่า “ตารางที่” ให้พิมพ์ชิดขอบซ้ายของหน้า เมื่อขึ้นหน้าใหม่ให้ใส่หัวตารางเช่นเดียวกับในหน้าแรกของตารางนั้น


6)  ภาคผนวก

     6.1  พิมพ์คำว่า “ภาคผนวก” กลางหน้ากระดาษ ตัวอักษรขนาด 36 พอยท์ และพิมพ์ด้วยตัวหนา

     6.2  เนื้อความภาคผนวก ให้พิมพ์ ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ กลางหน้ากระดาษด้วยตัวหนา ขนาด 20 พอยท์

     6.3  พิมพ์ชื่อเรื่องของภาคผนวก กลางหน้ากระดาษ ห่างจาก ภาคผนวก ก, ข  2 ช่วงบรรทัดพิมพ์ ด้วยตัวหนา ขนาด 18 พอยท์

เครดิตฟรี สล็อตออนไลน์ แจกเครดิตฟรี ไม่ต้องฝาก THAI55 สล็อต สล็อตออนไลน์ เล่นสล็อตออนไลน์ แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า บาคาร่า บาคาร่าออนไลน์ สูตรบาคาร่า KUBET ฟุตบอล เว็บฟุตบอล ข่าวฟุตบอล ซอคเกอร์ลีก การพนันฟุตบอลออนไลน์ สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 เครดิตฟรี บาคาร่า แจกเครดิตฟรี ไม่ต้องฝาก ใหม่ล่าสุดอัพเดต GCLUBคาสิโนออนไลน์ w88คาสิโนออนไลน์ บาคาร่า pantip บาคาร่าออนไลน์ ได้เงินจริง สล็อตออนไลน์ เกมยิงปลา ฟรีเครดิต ได้เงินจริง เล่นเกมส์ได้เงินจริงฟรี เครดิตฟรี แทงบาคาร่าออนไลน์ขั้นต่ำ5บาท มีสูตรบาคาร่าให้ใช้ฟรี HUC99 สล็อตออนไลน์


New Document