ประวัติความเป็นมา


ประวัติความเป็นมา 

 

     สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพศึกษา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดยใช้ชื่อว่า "หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา" ทำหน้าที่ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหารที่ได้รับการมอบหมายจากอธิการบดี และมีหัวหน้าสำนักงานปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายให้เกิดประสิทธิผลตามเป้าหมายด้านคุณภาพการจัดการศึกษา

 

     ต่อมาในปีพ.ศ.2547 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2550 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 ได้ออกประกาศมหาวิทยาลัย ให้งานมาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษาเป็นส่วนราชการภายในกองนโยบายและแผน สังกัดสำนักงานอธิการบดี เพื่อทำหน้าที่พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย  ให้เกิดการพัฒนาต่อไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

 

     ในปี 2554 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 (2) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยโดยให้ "สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา"  เป็นหน่วยงานภายในที่มีการบริหารจัดการอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย  เพื่อให้เกิดความคล่องตัว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยให้มีหน้าที่ประสาน สนับสนุนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ และติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ รวมทั้งให้มีการบริหารจัดการสำนักงานให้เป็นไปตาม กฎ ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับ ของทางราชการและของมหาวิทยาลัย และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยอธิการบดีรับผิดชอบงานประกันคุณภาพ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานของสำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

 

ปรัชญา 

 

       “สร้างมาตรฐานการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต”



วิสัยทัศน์ 

      สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา เป็นหน่วยงานประสานและสนับสนุนการดำเนินงานให้ได้คุณภาพและมีมาตรฐานการศึกษาเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับสากล

 

 

 

พันธกิจ  

1. พัฒนาและส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานระดับชาติและระดับสากล

2. พัฒนาและส่งเสริมการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE) ของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ

3. ส่งเสริม ตรวจสอบ และประสานการดำเนินงานด้านหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 

4. ส่งเสริม สนับสนุน มหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Educational Institute)

5. พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม การบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ

 



New Document